นับย้อนเมื่อ พ.ศ. 2525 สภาตำบลทุ่งไชยรับหลักการได้นำโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำตำบลและจัดตั้งคณะทำงานสำรวจความต้องการของประชาชน ภายใต้การนำของนายพร โปร่งจิต กำนันตำบลทุ่งไชยและนายสมชาย กันตรง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนทุ่งไชยพัฒนานุสรณ์ ในฐานะเลขานุการสภาตำบล ในขณะนั้น (ปัจจุบันทั้งสองท่านเสียชีวิตแล้ว)
พ.ศ 2526 สภาตำบลทุ่งไชยจัดหาที่ดินสำหรับตั้งโรงเรียน ได้ที่ดินสาธารณทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านหนองมะฮาดและได้เสนอเรื่องไปทางจังหวัด จังหวัดได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาใหม่ของจังหวัดศรีสะเกษ
พ.ศ 2528 สภาตำบลทุ่งไชยได้เสนอจัดตั้งโรงเรียนไปยังจังหวัดอีกครั้งหนึ่งและเสนอเรื่องไปยังกรมสามัญศึกษาอีกทางหนึ่ง
พ.ศ 2529 โรงเรียนกำแพงได้ขอเสนอเปิดหน่วยเรียนที่โรงเรียนบ้านทุ่งไชยและสภาตำบลได้ให้ความร่วมมือและได้ประสานงานกับกรมสามัญศึกษาเพื่อขอเปิดหน่วยเรียน กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดหน่วยเรียนในเดือน กรกฏาคม พ.ศ 2529 โรงเรียนกำแพงไม่สามารถดำเนินการได้ทันจึงขอระงับไว้ก่อน
พ.ศ 2530 กรมสามัญศึกษา สั่งให้เปิดหน่วยเรียนที่บ้านทุ่งไชย โรงเรียนกำแพงจึงสั่งให้คณะครู ประกอบด้วย นายสุขิน โตมร , นายดำรง ภุมมาและนายมนูญ จันทร์ซ้าย ประสานงานกับสภาตำบลเปิดหน่วยเรียนโรงเรียนกำแพงที่โรงเรียนบ้านทุ่งไชยพัฒนานุสรณ์ เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ 2530 มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 64 คน
21 มกราคม 2531 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโรงเรียนทุ่งไชยพิทยา 16 มกราคม 2531 โรงเรียนทุ่งไชยพิทยา เปิดสถานที่เรียนครั้งแรก โดยอาศัยอาคารเรียน โรงเรียนบ้าน ทุ่งไชยพัฒนานุสรณ์ เปิดที่เรียนอาคารชั่วคราว มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 119 คน รับโอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 64 คน จากหน่วยเรียนโรงเรียนกำแพง เข้ามาสมทบจึงมีนักเรียนจำนวน 183 คน มีครู 7 คน นักการภารโรง 2 คน
โดยมี นายวิชัย จันทร์เทพา รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่คนแรก
31 สิงหาคม 2531 กระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนทุ่งไชยพิทยาเป็นโรงเรียนทุ่งไชยพิทยา รัชมังคลาภิเษก เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
โดยใช้ตราพระราชทานประจำพระองค์ “ภปร.” เป็นตราประจำโรงเรียน ใช้สี “น้ำเงิน” แทนสถาบันพระมหากษัตริย์ กับสี “เหลือง” แทนวันประสูตรของในหลวง เป็นสีประจำโรงเรียน
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนคือ “ดอกทองกวาว” ซึ่งภายในบริเวณโรงเรียนก็ปลูกต้นทองกวาวเป็นจำนวนมาก
และใช้คำขวัญประจำโรงเรียนที่เป็นคำขวัญพระราชทานแก่โรงเรียนจัดตั้งขึ้นในการเฉลิมพระเกียรติว่า “รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ”
ปรัชญาโรงเรียนคือ “ปัญญา โลกสะมิ ปัชโชโต” หมายถึงปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
และเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2531 โรงเรียนได้ย้ายสถานที่เรียนมาที่โรงเรียนทุ่งไชยพิทยา รัชมังคลาภิเษก บ้านหนองมะฮาดในปัจจุบัน
ปัจจุบัน (พ.ศ 2564) โรงเรียนทุ่งไชยพิทยา รัชมังคลาภิเษก มีอายุ 33 ปีเศษ
มีอาคารเรียนประกอบด้วย อาคารเรียนถาวร(แบบ 108 ล) จำนวน 2 หลัง อาคารเรียนถาวร(แบบ 216 ล) จำนวน 1 หลัง อาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง (ปรับปรุงใช้เป็นโรงอาหาร) โรงฝึกงาน ช.102/27 จำนวน 1 อาคารหอประชุม/โรงอาหาร(แบบ 100/27) จำนวน 1 หลัง บ้านพักครู จำนวน 3 หลัง บ้านพักนักการภารโรงจำนวน 1 หลัง
ห้องน้ำ-ห้องส้วม นักเรียนแบบมาตรฐาน จำนวน 3 หลัง(6 ที่)สำหรับนักเรียนชาย 2 หลัง สำหรับนักเรียนหญิง 1 หลัง ถังเก็บน้ำประปาสูง 10 เมตร ความจุ 5.1 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ถัง ถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.33 จำนวน 6 ถัง ถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.50 จำนวน 2 ถัง ถังน้ำประปาสูง 12 เมตร ความจุ 2×3 เมตร จำนวน 1 ถัง สระน้ำดิน 1 สระ สระน้ำคอนกรีต 1 สระ สนามบาสเกตบอลจำนวน 1 สนาม สนามวอลเลย์บอล 1 สนาม ที่ดื่มน้ำสำหรับนักเรียนแบบถาวร 1 ที่